ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒ หวัดอุบลราชธานี Image 1

ประวัติโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒ จังหวัดอุบลราชธานี ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๒ ณ ที่สาธารณประโยชน์ บ้านนางิ้ว ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ ๒๑๕ ไร่ เป็นโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ รับนักเรียนสหศึกษาแบบประจำ ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 
โดยมีจุดมุ่งหมายในการจัดตั้งคือ

๑. เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ที่มีฐานะยากไร้ทางเศรษฐกิจ และสังคม ให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
๒. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ 5 ธันวาคม ๒๕๔๒

  • ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ นายทองดี เฉลิมเดชชาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล และนายสมทบ ถีระพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ได้ประสานขอความเห็นชอบ ในการขอใช้ที่ดิน จากสภาตำบลกระโสบ และดำเนินการประสานงานในการจัดตั้งโรงเรียน ไปยังกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา (เดิม)และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นายวินัย พัฒนรัฐผู้เชี่ยวชาญกรมสามัญศึกษา (เดิม) และคณะได้ออกมา ตรวจพื้นที่ ในการก่อสร้าง และลงความเห็นว่าสถานที่เหมาะสมในการสร้างโรงเรียน
  • ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมสามัญศึกษา(เดิม) ได้เสนอแผนการจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และนายสง่าโมฬีชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้ความเห็นชอบในการใช้ที่ดินในการก่อสร้างโรงเรียน
    – นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการ ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓ แห่ง คือ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐              โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๑ จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒ จังหวัดอุบลราชธานี
    แต่เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอจึงสามารถประกาศจัดตั้งได้เพียง ๒ โรงเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่
    – มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้าง และได้ดำเนินการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้าง จำนวน ๔ รายการ ดังนี้
    ๑. อาคารหอนอน จำนวน ๑ หลัง
    ๒. เรือนพยาบาล จำนวน ๑ หลัง
    ๓. โรงประกอบอาหารแบบราชประชานุเคราะห์ จำนวน ๑ หลัง
    ๔. ถังน้ำขนาดบรรจุ ๓๗ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๑ ชุด
    – ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายศิวะ แสงมณี) ได้ประสานขอรับการสนับสนุน
    งบประมาณไปยัง นายบรรหาร ศิลปอาชา , อธิบดีกรมสามัญศึกษา และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีคำสั่งที่ ๑๗/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๒
  • วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๒ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนและในวันเดียวกันนายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯ พลเอกเรวัตร บุญทับ รองผู้บัญชาการทหารบก นายกว้าง รอบคอบ อธิบดีกรมสามัญศึกษา (เดิม) นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมกันทำพีธีวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้างโรงเรียน
  • วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๒ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้แต่งตั้ง นายเปี้ยง นาคจิรังกูร ผู้อำนวยการโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน และได้จัดสถานที่ภายในโรงเรียนอุบลปัญญานุกุลฯ เป็นสำนักงานชั่วคราวของโรงเรียน
  • วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๒ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สั่งให้ นายสมทบ ถีระพันธ์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะครูใหญ่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒
  • วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นายสุรศักดิ์ เอนกแสน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๒ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แต่งตั้ง นายพันคำ ศรีพรม
    ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ชัยนาท มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
    ราชประชานุเคราะห์ ๓๒ จังหวัดอุบลราชธานี
  • นายพันคำ ศรีพรม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒ จังหวัดอุบลราชธานี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
  • ปัจจุบัน นายสัญญา เเสนทวีสุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๒
    จังหวัดอุบลราชธานี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ